บทนำ
ปัจจุบันการตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดที่ใช้อย่างแพร่หลายยังเป็นการตรวจสอบแบบรุกราน/ล่วงล้ำ (Invasive) อันหมายถึงขั้นตอนการเจาะผิวหนังเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวอย่างเลือด ทั้งนี้เพราะวิธีดังกล่าวมีความผิดพลาดน้อยมาก อย่างไรก็ดีการตรวจสอบไม่อาจทำได้บ่อยครั้งนักเพราะมันสร้างความไม่สบายและอาจเสี่ยงกับการติดเชื้อได้ เพราะฉะนั้นในปัจจุบันวิธีการตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่ล่วงล้ำ/ไม่รุกราน (Non-invasive) อยู่ในความสนใจของนักวิจัยทั่วโลก
ในบรรดาวิธีการตรวจสอบระดับในน้ำตาลในเลือดแบบไม่ล่วงล้ำทั้งหลาย สเปกโทรสโกปีรามาน (Raman Spectroscopy) ถือเป็นวิธีที่มีความน่าสนใจในอันดับต้นๆ นอกจากคุณสมบัติเฉพาะตัวของสเปกโทรสโกปีรามานที่เหมาะแก่การนำมาพัฒนาอุปกรณ์ส่วมใส่ (wearable) แล้ว ก็มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยันว่าวิธีการดังกล่าวสามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้จริง ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาและพัฒนาระบบสเปกโทรสโกปีรามานสำหรับการตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด
เป้าหมาย
เพื่อบรรลุเป้าหมายผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาเป็นสามการศึกษาย่อย
การศึกษา 1: การระบุความยาวคลื่น
การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อระบุความยาวคลื่นที่สำคัญในการใช้ตรวจสอบระดับน้ำตาลภายในเลือด
สัญญาณรามานที่ได้จากการยิงเลเซอร์ความถี่ใดๆจะเป็นพลังงานที่ถูกปล่อยจากโมเลกุล ซึ่งพลังงานดังกล่าวจะมีความถี่ต่างไปจากความถี่ที่ปล่อยใส่โมเลกุล สิ่งสำคัญก็คือความถี่ที่ต่างออกไปนี้จะมีความเฉพาะตัวในแต่ละโมเลกุล นั้นหมายความว่าเราสามารถรู้ได้ว่าในสะสารใดๆประกอบไปด้วยโมเกุลใดบ้างได้จากการอ่านสัญญาณรามาน อย่างไรก็ดีเลือดถือเป็นสะสารที่มีความซับซ้อนมาก สัญญาณรามารที่ได้จากการเลือดจึงไม่สามารถนำมาใช้ตรวจสอบระดับน้ำตาลได้ทันที การศึกษานี้ก็เพื่อระบุเลขคลื่นที่สำคัญในการตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด
ขั้นตอนนี้จะมีผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 15 คน
การศึกษา 2: การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ RS แบบพกพา การออกแบบและพัฒนาและการทดสอบเบื้องต้น
การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอุปกรณ์การตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่ล่วงล้ำโดยใช้วิธีการสเปกโทรสโกปีรามาน
หลังจากการออกแบบ วิจัย และ พัฒนาอุปกรณ์การตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดโดยใช้สเปกโทรสโกปีรามานเสร็จสิ้นแล้ว อุปกรณ์ดังกล่าวจะถูกนำมาตรวจสอบประสิทธิภาพในเชิงความผิดพลาด และ ความน่าเชื่อถือได้ก่อนนำไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริง
ขั้นตอนนี้จะมีผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 15 คน
การศึกษา 3: การปรับใช้ในสถานการณ์จริง
การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อการทดสอบอุปกรณ์ตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดโดยใช้สเปกโทรสโกปีรามานในสถานการณ์จริง
เมื่อนำไปใช้จริง อุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องสามารถอ่านค่า จดจำค่า และ ส่งค่าไปยังระบบคลาวด์ เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบการรักษาต่อไป